วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

เมื่อมีลมหายใจ.. เป็นเพื่อน

เมื่อวันที่ 24-27 มกราคม ที่ผ่านมา ได้ไปเยี่ยมชมโรงงานที่ประเทศจีน..

เนื่องจากโรงงาน ที่ไป 2 แห่งอยู่ไกลกันมาก และห่างจากตัวเมืองและสนามบิน ดังนั้นการเดินทางจึงใช้ รถยนต์ และรถทัวส์ เป็นหลัก โดยใช้เวลาเดินทางไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง..

จากการที่จะต้องเดินทางนานๆ.. ตอนแรกก็จะตื่นเต้นกับการเห็นสิ่งแปลกใหม่.. แต่ก็ไม่นาน.. ทัศนียภาพก็จะเหมือนเดิมคือ.. ป่ า.. เขา.. อุโมง.. ความรู้กสึกเบื่อจึงเริ่มเกิดขึ้น..

วันแรกของการเดิน ทาง.. เมื่อถึงที่พักรู้สึกเหนื่อยอ่อนมาก.. และเมื่อรู้สึกว่าพรุ่งนี้จะต้องเดินทางอีกแล้ว.. ก็แทบจะไม่ มีแรงแล้ว..

แต่วัน ที่ สอง . . เ ราเอาเวลาช่วงนี้มาเจริญสติกันดีกว่าไหม.. คอยดูรู้สึกถึงลมหายใจ.. รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของท้องพอ ง ยุบ.. แล้วดูการไหลไปคิดของจิต..
ความรู้สึกสบาย.. ไม่รู้สึกถึงความเบื่อหน่าย.. ไม่มีความกระวนกระวาย.. มันเป็นความรู้สึกที่ส บายจริงๆ.. บางช่วงก็เผลอหลับไปบ้าง.. กลับมาถึงที่พักรู้สึกสดชื่น.. ไม่เหน็ดเหนื่อยเหมือนวันแรก..

อีก สองวันที่เหลือเลยเป็นการเดินทางที่รู้สึกว่าชอบมากๆ.. เพราะได้อยู่กับตัวเองเต็มๆ.. มีลมหายใจเป็นเพื่อนที่ดีจริงๆ :-)

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

เพิ่งเริ่มเข้าใจกับคำว่า.. อนัตตา


คำว่า.. อนัตตา เป็นคำที่ได้ยินมาบ่อยมาก ตั้งแต่เด็กๆ เลยก็ว่าได้..

อนัตตา เป็นหนึ่งในสามของ ไตรลักษณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย

อนิจจัง.. ความไม่เที่ยง
ทุกขัง.. ความเป็นทุกข์
อนัตตา.. ความไม่มีตัวตน

ได้ยินอย่างนี้มาตลอด.. อนิจจัง กับทุกขัง พอเข้าใจในความหมาย.. แต่.. อนัตตา ไม่เข้าใจจริงๆ กับความหมายที่ว่า ความไม่มีตัวตน..

เรายังต้องทานข้าว เรายังเดิน เรายังต้องดำรงค์ชีวิต แล้วการไม่มีตัวตน.. มันจะไม่มีได้อย่างไร??

พอมาปฏิบัติธรรม ก็ได้ยินความหมายเพิ่ม ในส่วนของอนัตตา ว่า.. ความไม่มีตัวตน.. บังคับ ควบคุม สั่งการไม่ได้.. อือเริ่มพอเข้าใจ ในความหมายส่วนขยาย.. ความไม่มีตัวตนมันเกี่ยวกันตรงไหน..

จากฟังซีดี หลวงพ่อปราโมทย์.. แผ่นที่ 35-36 ท่านกล่าวถึง.. การบรรลุโสดาบัน ของ "อุปติสสะ" ด้วยการฟังธรรมจาก พระอัสสชิ ที่ว่า
"ท่านกล่าวบทอันลึกซึ้งละเอียดทุกอย่าง เป็นเครื่องฆ่าลูกศร คือ ตัณหา เป็นเครื่องบรรเทาความทุกข์ทั้งมวล ว่าธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้า ตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะเจ้ามีปกติตรัสอย่างนี้"

หลวงพ่อปราโมทย์ ท่านกล่าวถึงบ่อยมาก.. ฟังแล้วก็ไม่เข้าใจ.. ยิ่งฟังยิ่งงงด้วยซ้ำ.. แต่(เอาอีกละ).. ท่านจะย้ำต่อไปอีกว่า เมื่อผลจะดับได้.. ปัจจัยต้องดับก่อน.. ผลจะเกิดขึ้นได้.. ต้องมีปัจจัยเกิดขึ้นก่อน.. (เห็นอะไรหรือยัง)

อยู่ดีๆ วันหนึ่ง.. ก็ถึงบางอ้อ (บางพลัดก็ได้นะ).. ก็ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีมีตัวตนอยู่แล้วนั่นเอง.. ทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดจากเหตุจากปัจจัย.. ทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้นขึ้นมา.. ซึ่งตัวเราเองก็เป็นผลที่เกิดจากเหตุจากปัจจัยนี้ด้วย.. มันไม่มีตัวเราตั้งแต่แรกแล้ว.. ดังนั้น เมื่อมันไม่มีตัวตน.. มันจึงบังคับไม่ได้.. มันจึงควบคุมไม่ได้ จึงเรียกว่า "อนัตตา" นั่นเอง

งงไหม.. เขียนเอง.. อ่านเองยังงงเลย.. แต่ไม่รู้จะบรรยายอย่างไร.. เพราะยิ่งเขียนก็ยิ่งเป็นสมมติบัญญัติ ไปเรื่อยๆ

ไม่นึกว่าแค่ฝึกรู้สึกตัว.. ไปเรื่อยๆ.. ความรู้ความเข้าใจ.. ในสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นมาให้เราเข้าใจขึ้นมาได้..

บางคนอาจจะเถียงว่า.. ที่พูดมาตั้งแต่ต้นก็ฟังซีดีหลวงพ่อมาตลอด.. แล้วดันมาสรุปว่าเข้าใจธรรมะ จากการรู้สึกตัว..

เอาอย่างไรดีละ.. ยกตัวอย่างก็แล้วกัน.. สมมติว่าเราจะไปสอบเข้ามหาลัย (เปลี่ยนดีกว่า เพราะตัวเองก็ Entrance ไม่ติดเหมือนกัน อิอิ).. สมมติว่าเราจะสอบคณิตศาสตร์ก็แล้วกัน.. มีเด็กสองคน.. ได้แนวข้อสอบมาแบบเนื้อๆ เด็กคนที่หนึ่งอ่านแนวข้อสอบแบบทุกตัวอักษรไม่มีคลาดเคลื่อน.. ขณะที่เด็กอีกคนหนึ่งอ่านแนวข้อสอบและลองทำแนวข้อสอบนั่นด้วย.. ขอแค่นี้นะ.. พอเห็นอะไรบ้างไหม..

ก่อนจบ.. ขอย้ำอีกทีนะครับ.. ว่าข้อความข้างบนนี้.. เป็นความเข้าใจส่วนตัว.. อาจจะผิดอย่างมหันต์อยู่ก็ได้ หรืออาจจะหลง.. ไปไหนแล้วก็ไม่รู้.. ความรู้ทางธรรมไม่ได้เกิดจากการท่องจำหรือความคิด แต่ต้องเกิดจาก.. จิตไปเห็นสภาวะธรรมนั้นเอง.. เข้าใจเอง.. เพราะฉนั้นความรู้ความเข้าใจครั้งนี้.. อาจจะโดนกิเลสหลอกอยู่ก็ได้นะครับ..

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

หนึ่งปี.. กับชีวิตที่รู้สึกเปลี่ยนไป

ตั้งใจว่าจะเขียน.. สำหรับครบรอบหนึ่งปีในการเริ่มเขียนบล็อก.. แต่ก็ดูแล้วก็เริ่มปีใหม่เหมือนกัน ดังนั้นเลยเขียนภาพรวมของปีก็แล้วกัน..

ต้นปี.. ได้เริ่มสนใจธรรมะ ในการสอนของหลวงพ่อปราโมทย์.. ซึ่่งมีความรู้สึกว่า.. เข้าในธรรมะของพระพุทธเจ้าแบบที่ไม่เคยนึกมาก่อนว่า แล้วความรู้ที่ก่อนหน้านี้.. มันชั่งน้อยนิดเหลือเกิน..

พอเริ่มสนใจธรรมะ.. การอ่านหนังสือธรรมะจากของขม.. กลายเป็นของหวานไปเลย..

ในช่วงต้นปี ถึงกลางปี.. เป็นช่วงที่สูญเสีย น้า อา และ พี่ชาย ในเวลาแค่หนึ่งเดือน ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สงสารแม่มากที่สุด

ช่วงกลางปี.. มีเรื่องในครอบครัวซึ่งถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงมากๆ.. แต่ก็นับว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าช่วยให้มีสติได้มากที่เดียว..

จากเหตุการณ์ครั้งนั้น..
ทำให้รู้ว่าปัญหาเป็นสิ่งที่เราต้องเผชิญและคนรอบข้างสามารถช่วยเราได้.. แต่ความทุกข์นั้นอยู่ที่ตัวเราเท่านั้นที่จะวางมันได้และไม่มีใครช่วยเราได้..

จากช่วงกลางปีถึงปลายปี.. ปัญหาก็ยังไม่คลี่คลายเท่าไหร่.. การปฏิบัติธรรมยังเหมือนเดิม.. และได้พบกับความรู้ในทางธรรมเพิ่มขึ้นอีกมากมาย..

ซึ่งจากการประเมิน.. ชีวิตของตัวเองในรอบ
หนึ่งปีที่ผ่านมาถือว่า มีทั้งเรื่องดีๆและเรื่องร้ายๆ พอๆ กัน.. แต่เรื่องดีที่สุดที่ได้ประสพกับชีวิตคือ.. ได้เห็นธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ ไม่มีสิ่งใดเทียบได้ ดังนั้นปีนี้ถือว่าชีวิตของตนเองมีกำไรมหาศาลมาก..

เมื่อก่อนปฏิบัติธรรม.. กลัวตาย
แต่หลังจากปฏิบัติธรรมแล้วสิ่งที่กลัวคือ.. การเกิด

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีสร้างบุญบารมี






ขอคัดลอกข้อความจาก.. หนังสือสร้างบุญบารมี ที่สมเด็จพระสังฆราช ทรงพระนิพนธ์ไว้.. โดยจะเอาเฉพาะลำดับของบุญที่ได้จากการสร้างบารมี..




  1. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี
  2. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม
  3. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม
  4. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
  5. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์
  6. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่ - พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ( ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น )
  7. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
  8. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
  9. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
  10. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
  11. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
  12. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
  13. การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า " การถวายวิหารทาน " แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน "
  14. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ( ๑๐๐ หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ " ธรรมทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ "
  15. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ " อภัยทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือ " การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู " ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ " ละโทสะกิเลส " และเป็นการเจริญ " เมตตาพรหมวิหารธรรม "
  16. การให้อภัยทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ แม้จะถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม
  17. การถือศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ แม้จะถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม
  18. การถือศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม
  19. การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แล้ว รักษาศีล ๑๐ ไม่ให้ขาด ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาที่มี ศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม
  20. แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู "
  21. ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงทีว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม "
จะเห็นได้ว่าวิปัสสนานั้น เป็นสุดยอดของการสร้างบารมีโดยแท้
จริง และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก ไม่ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใดแต่ก็ได้กำไรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการให้ทานเหมือนกับกรวด และทราย ก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก ซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบกับศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิ และสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา

ในเมื่อความเป็นจริงก็เห็นๆกันอยู่เช่นนี้แล้ว เหตุใดเราท่านทั้งหลายจึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวายสะสมสิ่งที่ในที่สุดก็จะต้องทิ้ง จะต้องจากไป ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเราซึ่งก็คงมีไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี ให้ต้องโมฆะเสียเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้

เหตุใดไม่เร่งขวนขวายสร้างสมบุญบารมีที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ์ ซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในชาติหน้า แม้หากว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่มีจริงดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ อย่างเลวพวกเราก็เพียงเสมอตัว มิได้ขาดทุนแต่อย่างใด

หากสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนเอาไว้ว่ามีจริงดั่งที่ปราชญ์ในอดีตกาลยอมรับ แล้วเราท่านทั้งหลายไม่สร้างสมบุญและความดีไว้ สร้างสมแต่ความชั่วและบาปกรรมตามติดตัวไป

เราท่านทั้งหลายไม่ขาดทุนหรอกหรือเวลาในชีวิตของเราที่ควรจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ กลับต้องโมฆะเสียเปล่าก็สมควรที่จะได้ชื่อว่าเป็น " โมฆะบุรุษ " โดยแท้