เหตุที่ผู้เขียนทำไมต้อง พูดถึงสติบ่อย เพราะเป็นเส้นทางที่จะนำเราสู่หนทางแห่งการพ้นทุกข์นั่นเอง..
ก่อนที่จะเขียนต่อไป.. สติที่กล่าวถึงในบทความนี้ ไม่ใช่สติที่ใช้ในทางโลกนะครับ.. สติทางโลกที่เราเข้าใจกันได้แก่ ขับรถได้ เดินข้ามถนนได้ อ่านหนังสือได้ เป็นต้น แต่เป็นสติในทางพุทธศาสนา จะเป็นสติที่จะเห็นสภาวะ ทีี่เกิดขึ้นที่กายที่ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่น เพื่อจิตจะเกิดการเรียนรู้ว่า กายกับใจนี้ ตกอยู่ได้ "ไตรลักษณ์" ทั้งสิ้น หรือเรียกการฝึกจิตนี้ว่า "วิปัสสนา" ที่ก่อให้ จิตมีปัญญาขึ้นมาได้ หรือที่เรียกว่ามี "สัมมาฐิทิ"
การเจริญสติที่จะกล่าวถึงในบทความนี้.. ผู้เขียนขอออกตัวไว้ก่อนนะครับ.. เนื่องด้วยผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้ที่มีจริตในทางสมถกรรมฐาน ที่จะฝึกจิตให้สงบนิ่งจนเข้า ฌาน ได้(เขียนคำนี้ที่ไร หาตัว ฌ เฌอ ไม่เคยเจอสักที) และเมื่อออกจากฌานแล้ว ด้วยกำลังของสมาธิของการเข้าฌาน จะมีจิตผู้รู้ขึ้นมา ซึ่งจิตผู้รู้นี้ จะได้นำมาเรียนสภาวะที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ หรือการเจริญวิปัสสนา.. (ขอเขียนสั้นๆ นะครับเพราะมีความรู้เท่านี้)
ดังนั้นเมื่อจริตของผู้เขียนไม่ได้เดินในแนวนั้น ผู้เขียนจึงต้องอาศัย เจริญสติในชีวิตประจำวันแทน เพื่อเป็นการฝึกจิต ให้จำสภาวะที่เกิดขึ้นกับการกับใจ จนเกิดความเคยชิน เมื่อเกิดสภาวะเดิมบ่อยๆ จิตจำเริ่มสภาวะได้ เมื่อเกิดสภาวะแบบนั้นอีก สติจะเกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ แบบไม่ได้จงใจหรือตั้งใจ ที่เราเรียกว่า สติอัตโนมัติ หรือจิตตั้งมั่นแบบเป็นขณะ (หรือเรียกว่า ขณิกสมาธิ) ขึ้นมา ซึ่งเป็นจิตที่มีคุณภาพเพียงพอต่อการ เจริญวิปัสสนา ได้เช่นเดียวกัน
การที่เราจะฝึกเจริญสตินั้น.. สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ต้องรู้สึกตัวให้เป็นก่อน.. จากบทความ "คำว่า "รู้สึกตัว" เป็นอย่างไร" ท่านผู้อ่่านจะเห็นได้ว่า "รู้สึกตัว" เป็นสิ่งที่เข้าใจยากมาก เพราะการจะแยกระหว่างรู้สึกตัวกับความคิดไม่ใช่จะทำได้ง่ายเลย
แต่ด้วยพระคุณของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ท่านได้เมตตาแนะนำว่า วิธีที่จะรู้สึกตัวให้เป็นนั้น เราสามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับคำว่า "รู้สึกตัว" ซึ่งก็คือ "ไม่รู้สึกตัว" หรือที่เราเรียกอีกอย่างว่า "หลง" นั่นเอง
สำหรับคำว่า "หลง" นั้นเป็นคำหรือสภาวะที่ทุกท่านหรือทุกคนในโลกนี้ไม่ค่อยยอมรับกัน.. เพราะจะมีความเข้าใจว่า สติทางโลก ที่กล่าวไปแล้วนั่นแหละ เป็นเครื่องรับรองอยู่แล้วว่า ตั้งแต่เกิดมาเราไม่เคยหลงกันเลย..
เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจ กับคำว่าหลง ผู้เขียนขอลอง สอบถามท่านผู้อ่านกันดูว่า ท่านเคยทำหรือเป็นแบบนี้บ้างไหม..
- ตื่นนอนมา ความรู้สึกแรก ที่สะดุ้งตื่น คิดถึงเรื่องที่ฝัน คิดถึงเรื่องงานที่ยังค้างอยู่ หยิบมือถือมาเล่นอินเตอร์เน็ต
- ตอนถ่ายทุกข์ คิดถึงเรื่องที่ฝัน คิดถึงเรื่องงานที่ยังค้างอยู่ หยิบมือถือมาเล่นอินเตอร์เน็ต
- ตอนแปรงฟัน คิดถึงเรื่องที่ฝัน คิดถึงเรื่องงานที่ยังค้างอยู่ ดูหน้าตัวเองในกระจก
- ตอนทานข้าว คิดถึงรสชาติอาหารที่แสนอร่อย คิดถึงเรื่องงานที่ยังค้างอยู่ หยิบมือถือมาเล่นอินเตอร์เน็ต
ผู้เขียนของยกตัวอย่างเท่านี้.. ไม่ทราบว่าท่านใดเคยทำแบบนี้บ้างหรือปล่าว.. ถ้าเคย ในทางธรรม พฤติกรรมเหล่านี้เรียกว่าหลงทั้งหมด เพราะ ท่านนั้นไม่รู้สึกตัวจากสภาวะของกายและใจ ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น โดยที่ท่านไม่ได้สนใจว่า..
- พอสะดุ้งตื่นมา ไม่รู้ว่าร่างกายเรานอนตะแคงอยู่หรือนอนหงายอยู่
- ไม่รู้ว่าถ่ายทุกข์วันนี้กว่าจะถ่ายออก ใช้เวลานานไหม ออกมาก ออกน้อยหรือปล่าว
- ไม่รู้ว่าแปรงฟัน เริ่มจากบริเวณไหนก่อน บนหรือล่าง ตอนจะเสร็จ จบที่บริเวณไหน
- ไม่รู้ว่าคำแรกเคี้ยวข้าวด้านไหน คำสุดท้ายรสชาติเป็นอย่างไร
บางท่านอาจจะเริ่มเถียงว่ายังจำได้.. แต่ช้าก่อนจากนิยามของ "รู้สึกตัว" เราจะต้องรู้สภาวะที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ ในปัจจุบันขณะหรือปัจจุบันสันตติ (รู้ตามแบบติดๆ) ดังนั้น ถ้าเราหลุดจากนิยามนี้แล้ว นั่นแหละท่านได้ "หลง" ไปเรียบร้อยแล้ว หวังว่าท่านผู้อ่าน มาถึงตรงนี้ คงพอจะเริ่มยอมรับบ้างแล้วนะ.. มันหลงตลอดเวลาจริงๆ
ผู้เขียนเอง ก็ชักเริ่มกลัวว่า ผู้อ่านที่อ่านมาถึงตรงนี้.. อาจจะเริ่มงง.. รู้สึกตัวก็เข้าใจยาก.. หลงก็หลงตลอด.. แล้วมันเจริญสติอย่างไรละเนี้ย.. อาจจะเริ่มท้อ และดูว่ามันคงจะยากแล้วสำหรับในชีวิตนี้ที่จะทำได้..
ขอบอกทุกท่านได้เลยครับว่า.. คำสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทรงแนะนำสั้งสอนให้แก่มนุษย์ ธรรมดาอย่างพวกเรานี้แหละครับ เพียงแค่ใครจะได้มากได้น้อย อยู่ที่เหตุปัจจัย ที่ได้สะสมมาแต่ละท่าน แต่สิ่งที่แน่ๆว่า คำสอนของท่านไม่เนินช้า ทำน้อยได้น้อยทำมากได้มาก ไม่ทำก็ไม่ได้ ไม่มีโชคไม่มีฟลุ๊ก
ด้วยความหมายของคำว่า "พุทธ" หรือ "ผู้รู้" ดังนั้นหน้าที่ของชาวพุทธ ก็คือมีหน้าที่รู้.. แล้วรู้อะไร.. ก็รู้ว่า "หลง" ก็พอแล้ว.. ไม่ต้องดัดแปลงหรือทำอะไรบางอย่างที่นอกเนื่องจากรู้ เพราะนั่นเป็นการกระทำที่หลุดจากคำว่า "พุทธ" ไปแล้ว
ขอกลับมาที่ "หลง" กัน.. ปกติเราจะหลงกันเป็นพื้นอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อเกิดเราไปรู้ว่าเรากำลังหลงอยู่ จะเกิดอะไรขึ้นละ.. แสดงว่าหมายตอนนั้น เราไม่หลง ใช่หรือไม่ ซึ่งเมื่อเราไม่หลง เรากำลัง "รู้สึกตัว" ใช่หรือปล่าว..
ด้วยความหมายของคำว่า "พุทธ" หรือ "ผู้รู้" ดังนั้นหน้าที่ของชาวพุทธ ก็คือมีหน้าที่รู้.. แล้วรู้อะไร.. ก็รู้ว่า "หลง" ก็พอแล้ว.. ไม่ต้องดัดแปลงหรือทำอะไรบางอย่างที่นอกเนื่องจากรู้ เพราะนั่นเป็นการกระทำที่หลุดจากคำว่า "พุทธ" ไปแล้ว
ขอกลับมาที่ "หลง" กัน.. ปกติเราจะหลงกันเป็นพื้นอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อเกิดเราไปรู้ว่าเรากำลังหลงอยู่ จะเกิดอะไรขึ้นละ.. แสดงว่าหมายตอนนั้น เราไม่หลง ใช่หรือไม่ ซึ่งเมื่อเราไม่หลง เรากำลัง "รู้สึกตัว" ใช่หรือปล่าว..
ผู้เขียนเข้าใจว่า ท่านผู้อ่านมาถึงตรงนี้ คงจะเริ่ม งง แล้ว ลองอ่านอีกรอบนะ.. แต่ไม่ต้องเข้าใจมากครับ อ่านเล่นๆ ไปเรื่อยๆ เพราะเวลาจะเข้าใจ มันก็จะเข้าใจเอง ขอจบไว้ตรงนี้ก่อน โปรดติดตามตอนที่ 2 ต่อไปนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น