วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ลองเรียนศาสตร์นี้ ดูบ้างก็ดีนะ

บางคนมองว่า คนที่ปฏิบัติธรรม เป็นเรื่อง ของคนมีทุกข์ หรือพวกเบื่อทางโลก   

ถ้าลองไม่มองว่า พุทธ เป็นศาสนา แต่ให้มองว่า ศาสตร์ แขนงหนึ่ง จะช่วยลดพิธีการ ลงไปได้บ้างนะ (ยิ่งอยู่ใน สภาวะที่ สถาบันสงฆ์ ในไทยเริ่มสั่นคลอน) จะได้ช่วยให้รู้สึกว่า ใครมาเรียนก็ได้ ไม่เกินเอื้อม

พุทธศาสตร์ เป็นการเรียนรู้ วิธีแห่งการพ้นทุกข์ (ไม่ใช่ ดับทุกข์)

ซึ่งผู้เขียนเองก็ไม่ทราบเหมือนกัน ว่านอกจากศาสตร์นี้ มีศาสตร์ อื่นอีกไหม เนื่องด้วยตนเองเป็นชาวพุทธ เลยสรุปว่า มีศาสตร์นี้เพียง ศาสตร์เดียวแล้วกัน เพราะจากความรู้น้อยนิด "ถ้ายังมีการเกิดอยู่ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ทุกข์มันก็ยัง ตามไปได้อยู่ดี"

ศาสตร์จะสอนไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา  

สำหรับเรื่องศีล ทุกท่านทราบ กันดีอยู่แล้ว ทำได้หรือไม่ได้ ก็ควรต้องทำ ถ้าจะเรียนศาสตร์นี้

เรื่องสมาธิ  ทุกท่านจะมองว่า เป็นสัญลักษณ์ ของพุทธศาสตร์ ขอตอบเลยว่า ไม่ใช่ และยังยืนยันว่า ไม่ใช่ อีกครั้ง สมาธิในทางพุทธนั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกเรียกว่า สมาธิแบบทำให้จิตสงบ (หรือสมาธิแบบฤษีหรือดาบส) แบบที่สอง เรียกว่า สมาธิแบบทำให้จิตตั้งมั่น ซึ่งมีในพุทธศาสตร์ เท่านั้น ขอย้ำว่าอีกครั้งว่าเท่านั้น เพราะเป็นสมาธิ ที่จะเกิด จิตที่มีคุณภาพ ที่จะนำไปใช้ในการ เรียนในขั้นของปัญญา

การเรียนเรื่องปัญญา คือการเรียนรู้ ความเป็นจริง (จริงของจริง ไม่ใช่จริงสมมติ) ของกายและใจ ด้วยจิต ที่มีคุณภาพ จนจิตเกิดปัญญาขึ้นมา เพื่อถอดถอนความเห็นผิด ว่ากายไม่ใช่ของเรา ใจไม่ใช่ของเรา หรือเรียกอีกอย่างว่า สัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นแก่นแท้ ของพุทธศาสตร์

เหตุที่ต้องให้จิต ถอดถอนความเห็นผิด ว่ากายไม่ใช่ของเรา ใจไม่ใช่ของเรา เพราะ กายกับใจ นี้แหละ คือตัวทุกข์ละ ซึ่งตอนนี้พวกเรายังเห็นว่า กายกับใจ เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตไม่เลยไม่ยอม ทิ้งกาย ทิ้งใจ นี้จริงๆ สักที

ขอแถมท้าย ที่เราเกิดมาอยู่นี้ ก็คือเป็นการพิสูจน์ ว่าเรายังไม่รู้ ดังนั้น การฉลองวันเกิดทุกปี ก็คือ วันฉลองความไม่รู้ของเรานั่นเอง น่าภูมิใจดีไหมเนี้ย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น