วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เลือกอะไรเป็น วิหารธรรมดี?

วิหารธรรม คือ.. ที่อยู่ของจิต เมื่อจิตหลงไป จากที่อยู่ของจิตก็สามารถรู้ได้ ซึ่งถ้าไม่มีที่อยู่ของจิต เวลาจิตหลงก็จะไม่มีที่อ้างอิงว่าจิตหลงไปหรือไม่..

จากที่เริ่มจนถึงตอนนี้.. ยังหาวิหารธรรมที่เหมาะกับตัวเองไม่เจอเลย..

เริ่มแรก เอามือสองข้างมาประสานกัน แล้วสลับหัวนิ้วโป้งทั้งสองให้อยู่ข้างล่างกับข้างบนไปมา รู้สึกทำให้จิตสงบได้ดีเลยละ แต่พอนานๆ เข้า เริ่มแยกไม่ค่อยออกมา เพ่งหรือปล่าวเพราะจิตมันนิ่งแต่ก็คอยรู้ไป.. ทำให้ออกแนวกังวลว่าเพ่งหรือปล่าว.. แต่สิ่งหนึ่งที่ดูแล้วไม่ค่อยเหมาะคือบางเวลา ไม่สามารถเอามือสองข้างมาประสานกันได้ เช่นถือของอยู่.. วิหารธรรมตัวนี้เลยถูกเปลี่ยนไป..เป็น

มาดูการเคลื่อนไหวของท้องพอง-ยุบ แล้วให้ใจเป็นคนดู.. ตอนแรกมีความรู้สึกว่าดูง่าย.. แต่ออกแนวเพ่งและกังวลว่าจะเพ่งหรือปล่าวตลอด.. ทำให้จิตจะคอยฟุ้งหรือนิ่งแบบเพ่งบ่อย.. แต่วิหารธรรมแบบนี้ ทำให้มีสติในชีวิตประจำวันได้ค่อยข้างบ่อย.. แต่ไม่ค่อยเหมาะกับตอนนั่งสมาธิ เพราะจิตไม่ค่อยสงบเอาเสียเลย..

ตอนนั่งสมาธิ.. จึงได้มาลองทำการเคลื่อนไหวตามแนวหลวงพ่อเทียน รู้สึกว่าจิตจะสงบได้เร็ว.. และรู้สึกตัวได้เร็วเวลาที่.. จิตมันหลงไป.. แต่ (มีแต่อีกแหละ) แยกความรู้สึกไม่ค่อยออก ว่าจิตกับกาย อยู่คนละส่วนเหมือนแบบดูการเคลื่อนไหวของท้องพอง-ยุบ.. ดังนั้นตอนนั่งสมาธิ.. จึงเริ่มต้นด้วยการเคลื่อนไหวตามแนวหลวงพ่อเทียน พอรู้สึกว่าจิตเริ่มสงบแล้ว ก็จะเปลี่ยนมาดูที่การเคลื่อนไหวของท้องพอง-ยุบต่อ เพื่อให้จิตมันเรียนรู้ว่า กายกับจิต มันแยกกัน..

แต่ (ขอแต่อีกครั้ง) เมื่อ สอง-สามวันมานี้ได้ไปฟังเทศนาของหลวงพ่อพุธ (ที่หลวงพ่อปราโมทย์ท่านกล่าวถึงบ่อยๆ) ท่านพูดถึงการบริกรรม พุท-โธ..

สำหรับวิธีการบริกรรมภาวนาแบบพุท-โธ นี้เคยทำมาตั้งแต่เด็กๆ จะถูกสอนมาร่วมกับ ลมหายใจเข้า-ออก ซึ่งแค่พุท-โธ คำแรกก็รู้แล้วว่า จิตจะไปเกาะที่ลมหายใจหรือท้องพอง-ยุบทันที่ แล้วอาการของลมหายใจ หรือท้องพอง-ยุบ จะมีจังหวะที่ผิดปกติไป ดูรู้สึกอึดอัดไปหมด.. ดังนั้นวิหารธรรมแบบนี้ไม่อยู่ในความคิดเลย..

แต่ (ว่าแล้วเชียว ต้องมีแต่จนได้) หลวงพ่อพุธท่านได้พูดเกี่ยวกับการบริกรรมภาวนาแบบพุท-โธว่า.. ไม่ต้องสนในว่าจะเป็นอย่างไร ให้บริกรรมจนคำว่าพุท-โธ ไปแนบกับจิตเป็นตัวเดียวกันให้ได้.. เมื่อคืนนี้หลังจากทำสมาธิรู้แบบเดิมเสร็จ.. แล้วเตรียมตัวนอนก็เลยลองพยายามบริกรรม พุท-โธ ซึ่งก็เหมือนเดิม.. จิตจะสลับมาจับที่ลมหายใจบ้าง.. จิตมาจับที่ท้องพองยุบบ้าง.. (เห็นอะไรไหม?) ถ้าทำอย่างนี้สงสัยไม่ได้ผลเหมือนเดิมแน่.. เลยลองบริกรรม พุท-โธ ให้เร็วๆ จนหายใจไม่ทันหรือท้องพองยุบไม่ทัน แล้วก็ทำได้จริงๆ ด้วย.. เห็นเลยว่า จิตกับกายเป็นคนละส่วนจริงๆ แล้วชัดมากแบบไม่ต้องช่วยคิดเลย.. แต่วิธีบริกรรม พุท-โธ ให้เร็วๆ นี้ก็ทำได้แป๊ปเดียว จิตก็มาจับที่ลมหายใจหรือที่ท้องเหมือนเดิม แต่สิ่งได้อย่างหนึ่งคือ การเห็นจิตมาจับที่ลมหายใจหรือจิตมาจับที่ท้องพองยุบ เป็นการเห็นจากสภาวะที่เกิดขึ้นจริงๆ ไม่ได้คิดเอาว่าจิตไปจับตรงโน้นตรงนี้.. สำหรับสภาวะครั้งนี้เราไม่ชอบที่จะให้จิตไปจับอยู่กับกาย..

เช้ามาระหว่างขับรถกับแฟนก็เลยลองบอกให้แฟนบริกรรม พุท-โธ แล้วลองสังเกตุว่าจิตไปจับตรงไหน.. แฟนบอกว่า.. จิตจับอยู่ที่ลมหายใจ.. เราก็เลยเริ่มคิดว่าทำอย่างไรดี.. ตอนนั้น ซีดีของหลวงพ่อปราโมทย์ ท่านให้การบ้านกับลูกศิษย์ ของท่านด้วยการ บริกรรมสวดมนต์..

เราก็เลยนึกขึ้นได้ว่าไม่จำเป็นบริกรรม พุท-โธ เท่านั้นนี้.. เลยนึกคำสวดที่เกิน 2 พยางค์ เพื่อให้ไม่ไปผูกการเคลื่อนไหวของ ลมหายใจกับท้องพอง-ยุบ เลยลองหาคำเช่น อิติปิโส แต่ดูแล้วยาวเหลือเกิน คงจะเบื่อเสียก่อนที่จิตจะสงบแน่ หาอยู่หลายคำ เลยมาสรุปที่ "นะโม ตัสสะ" พอลอง บริกรรมครั้งแรก..

จะเห็นเลยว่า.. จิตไม่มีที่อยู่.. จิตจะขลุกขลิกเหมือนพยายามหาที่อยู่.. เริ่มสนุกแล้วซิ.. เดี๋ยวขอไปลองของใหม่ก่อนนะครับ.. ได้ผลอย่างไรจะมาบอก..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น