
เมื่อวันจันทร์ที่ 8 พ.ย. 53 ได้ฟังซีดีของ
พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส เกี่ยวกับการรู้สึกตัว..
มีช่วงหนึ่งท่านอธิบายเรื่อง
รู้สึกตรง.. กับรู้สึกสมมติ ฟังแล้วจึงเข้าใจความหมายที่ ครูบาอาจารย์ ท่านพูดเสมอว่า รู้แล้วให้ใจเป็นกลาง.. รู้แล้วให้จบลงที่รู้.. รู้ซื่อๆ
งงไหมว่ามันเกี่ยวกันตรงไหน..
มาเข้าใจกับคำว่าสมมติกันก่อน..
สมมติ คือมุติร่วมกัน ตามที่ได้ตกลงกันไว้ หรือหมายรู้ร่วมกันเป็นเครื่องมือสื่อสาร พอให้สำเร็จประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น คน สัตว์ คนดี คนชั่ว โต๊ะ เก้าอี้ หนังสือ เป็นต้น ซึ่งแต่ละชุมชนก็มี มุติร่วมที่ต่างกันไป เช่น มนุษย์-ภาษาไทย Human(ฮิว'เมิน)-ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
แล้วความหมายคำว่า
รู้สึกตรงคืออะไร.. บอกไม่ได้.. ถ้าบอกก็จะเป็นความรู้สึกสมมติทันที (เห็นอะไรหรือยัง).. มันเป็นความรู้สึกที่จะรู้ได้เฉพาะตน..
เมื่อเรารับรู้
(วิญญานขันธ์)สิ่งนั้นแล้ว.. จะประมวลเปรียบเทียบกับความจำที่เรามีอยู่
(สัญญาขันธ์) เพื่อบอกความรู้สึกว่าสิ่งนั้นคืออะไร..
ความรู้สึกตรงจะจบลงที่วิญญานขันธ์ ส่วนหลังจากนั้นเป็น รู้สึกสมมติ ทั้งหมด..
ตัวอย่าง.. ท่านเคยโดนมีดบาดหรือปล่าว.. เคยลองสังเกตุไหม ว่าเมื่อมีดบาดเรา รู้สึกเจ็บทันทีหรือมีหน่วงเวลาแล้วค่อยรู้สึกเจ็บ หรือเห็นเลือดแล้วค่อยรู้สึกเจ็บ ก่อนที่จะรู้สึกเจ็บนั้นแหละเรียกว่า รู้สึกตรง..
เมื่อรู้แล้วทำอะไร.. ก็ไม่ต้องทำอะไร.. ไม่ต้องห้ามมัน.. ไม่ต้องสงสัย.. ไม่ต้องค้นหา.. รู้ซื่อๆเป็นพอแล้ว.. เพราะเมื่อไหร่ที่เข้าไปจัดการ.. จะเป็นความรู้สึกสมมติทันทีเมื่อจิตเห็น ความรู้สึกตรงที่ไม่เจือด้วย ความรู้สึกสมมติ เมื่อจิตเห็นอย่างนี้บ่อยๆ เข้า จิตจะเห็นความจริงที่ว่า กายไม่ใช่เรา จิตไม่ใช่เราอีกต่อไป.. แต่ต้องใช้เวลานะ (ลอกเขามาอีกทีนะครับ.. เพราะตัวเองยังไปไม่ถึงไหนเลย..)
หมายเหตุ: ได้ยินคำว่า "ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี".. แต่ไม่เคยได้ยินคำว่า "เป็นมติของชุมชนไหน".. เพราะคนดีในหมู่โจร.. คนดีในหมู่นักการเมือง.. คนดีในหมู่สงฆ์.. คนดีใน.. น่าจะไม่เหมือนกันจริงไหม