การเจริญสติแบบที่สอง หรือที่เรียกว่า การเจริญสติในชีวิตประจำวัน..
การเจริญสติในชีวิตประจำวันเป็นสิ่่งที่สำคัญมาก เพราะเราต้องทำมาหากิน ยังต้องใช้ชีวิตอยู่กับโลกใบนี้ ดังนั้นการที่จะไปการเจริญสติในรูปแบบ ตามที่กล่าวไปในบทความที่แล้ว ตลอดทั้งวัน คงเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้แน่.. ดังนั้นเราจึงต้องมีการฝึกแบบนี้ด้วย
ตามจริงก็ทำเหมือนการฝึกเจริญสติในรูปแบบ เพียงแค่เปลี่ยนวิหารธรรมมาเป็นกิจกรรมที่เราทำ ณ เวลานั้นเป็นเครื่อง กำหนดขอบเขตการหลงของจิตแทน หรือถ้าช่วงไหนที่ไม่ได้มีกิจกรรมทำก็เอา วิหารธรรมที่เราฝึกในรูปแบบมาเครื่องอยู่แทน..
การเจริญสติในชีวิตประจำวันนั้น.. มีเวลาที่ควรยกเว้นการฝึกเจริญสติได้แก่เวลาที่นอนหลับและ เวลาที่เราต้องทำงานในการใช้ความคิด เช่น สอนหนังสือ ออกแบบ ประชุม หรือสนทนากับคนอื่น เพราะการเจริญสตินั้น จิตจะมารู้สึกตัวทุกครั้งเรารู้ว่าหลง ซึ่งในขณะที่เราทำงานหรือพูดคุยกับคนอื่นอยู่นั้น เราจะต้องความคิด ซึ่งถ้าเราไปรู้สึกตัว ตอนนั้นเราไม่คิด ทำให้บางครั้ง เราจะไม่สามารถปะติดปะต่อ การเจรจาหรืองานที่กำลังทำอยู่นั้นได้..
แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะปล่อยให้หลงตั้งแต่ เริ่มงานแปดโมงเช้า ถึงห้าโมงได้นะครับ เพราะในความเป็นจริง เราไม่ได้ทำงานหรือคุยกับคนอื่นทั้งวัน ดังนั้น ช่วงเวลาที่ เดินจากที่จอดรถมาที่ห้องทำงาน ช่วงเวลาที่เดินไปชงกาแฟ ช่วงเวลที่เดินเข้าห้องน้ำ ช่วงเวลาที่เดินไปทานข้าวกลางวัน ช่วงเวลาที่ทานข้าว ช่วงเวลาเดินจากที่ห้องทำงานไปที่จอดรถ..
นี่แค่กล่าวถึงที่ทำงานนะ ยังไม่ได้รวมตั้งแต่ตอนตื่นนอน แปรงฟัน แต่งตัว ทานข้าวเช้า ขับรถหรือนั่งรถไปกลับที่ทำงาน ออกกำลังกายตอนเย็น อาบน้ำ ทานข้าวเย็น นั่งดูโทรทัศน์.. จะเห็นได้ว่าเวลาที่จะฝึกเจริญสติมีเวลาเยอะมาก (แต่เอาเข้าจริงๆ วันหนึ่งรู้ว่า "หลง" สักครั้งสองครั้ง ก็ดีใจแทบแย่แล้ว)
ลองฝึกดูนะครับ.. ช่วงแรกๆ อาจจะดูยุ่งยาก แต่ขอให้จำว่า หน้าที่ของเราเพียงแค่ "รู้" แต่ที่เรารู้สึกว่ายุ่งยากส่วนหนึ่งมาจาก เราอยากดี จึงยอมรับไม่ค่อยได้กับการหลง จึงไปวุ่นวายที่จะจัดการกับสภาวะ "หลง"
เมื่อไหร่ที่เรายอมรับได้ว่า "หลง" หรือ "ไม่หลง" มันก็เป็นสภาวะหนึ่งเท่านั้น เราก็จะรู้ได้ว่า การเจริญสติ นั้นไม่ง่ายจริงๆ
เจริญในธรรมนะครับ..
วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556
กิจวัตรประจำวัน กับ การเจริญสติ ตอนที่ 1
จากการที่ผู้เขียนไม่ได้มีจริตในการทำสมถะกรรมฐาน ที่จะทำให้จิตสงบได้.. การเจริญสติในชีวิตประจำวันจึงมีความจำเป็นมาก..
การเจริญสติ มีด้วยกัน 2 แบบ ซึ่่งจะต้องทำควบคู่กัน.. แบบแรกเรียกว่า "การเจริญสติในรูปแบบ" แบบที่สองเรียกว่า "การเจริญสติในชีวิตประจำวัน"
การเจริญสติในรูปแบบ.. เป็นการฝึกที่่ต้องอาศัยสถานที่พอสมควรเพื่อตัดปัจจัย ที่จะผลต่อการฝึกเจริญสติ เช่น ควรหลีกเลี่ยงพบปะผู้คน มีความเงียบพอสมควร บรรยากาศเหมาะแก่การฝึกเจริญสติ สำหรับสถานที่ของผู้เขียนเองก็ ในบ้านนั่นแหละ เช่นในห้องนอนหลังจากที่เด็กๆ หลับกับหมดแล้ว สนามหน้าบ้านตอนเช้า ที่ยังไม่มีคนพลุกพล่านมาก
จุดประสงค์ของการฝึกเจริญสติในรูปแบบเพื่อให้จิต ได้มีกำลังที่จะได้ใช้ กับการเจริญสติในรูปแบบที่สอง อีกทั้งยังเป็นฝึกซ้อมให้จิตได้รู้ถึงสภาวะ ของการรู้สึกตัวกับความคิด(หรือหลง) ได้เด่นชัดขึ้น
วิธีการฝึกเจริญสติในรูปแบบ.. สิ่่งแรกที่ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องค้นหาให้ได้คือ หา" วิหารธรรม" ที่เหมาะกับตัวเอง และเกี่ยวเนื่องกับกายกับใจ..
มาเข้าใจกับคำว่า "วิหารธรรม" กันก่อน.. วิหารธรรมคือเครื่องอยู่ ของจิต หรืออารมณ์ (สิ่งที่จิตไปรู้) ที่จะเป็น ตัวกำหนดหรือขอบเขต ที่จะบอกว่าตอนนี้จิตกำลัง "หลง" หรือยัง "ไม่หลง" ซึ่งก็เหมือนกับที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่าง ในบทความ ที่สอนสภาวะหลงให้กับเด็กๆ
วิหารธรรม.. ที่เกี่ยวเนื่องกับการกับใจเช่น รู้สึกถึงลมหายใจ รู้สึกถึงท้องพองยุบ ท่องพุทโธ ขยับแขนเป็นจังหวะ เดินจงกรม.. ในระยะแรกลอง ทำในสิ่งตัวเองชอบก่อน.. แล้วสังเกตุดูว่า สบาย ไม่อึดอัด และทำได้นานไหม ถ้าใช่นั่นแหละคือวิหารธรรมที่น่าจะเหมาะกับเราแล้ว แต่ถ้าวิหารธรรมใดทำแล้วรู้สึกว่า อึดอัด หรือรู้สึกว่าเป็นภาระที่จะต้องทำ ผู้เขียนขอแนะนำให้เปลี่ยนนะครับ แต่อย่างไรก็ตามต้องลองสังเกตุให้ดีด้วยว่า ชอบจริง สบายจริง อึดอัดจริง หรือปล่าว เพราะบางที่ก็เจอกิเลสหลอกเหมือนกัน เช่นตอนแรกดี แต่พอสักพัก เริ่มไม่ดีอีกละ ต้องจำไว้เสมอว่า กิเลสของเรานั้น จะทำอย่างไรก็ได้ ให้เราเลิกทำ..
ถ้าท่านผู้อ่านลองย้อนกลับไปอ่าน บทความเก่าๆ ของผู้เขียน จะเห็นว่าผู้เขียนเองก็ดิ้นรนที่จะหาวิหารธรรมของตัวเองให้เจอ.. ซึ่งวิหารละธรรมของผู้เขียนจะเป็น การรู้สึกถึงท้องที่เคลื่อนไหว ไม่แน่ใจว่าเรียก ท้องพองยุบหรือปล่าว เพราะไม่ได้ไปรู้สึกถึงว่า ท้องพองหรือท้องยุบ แต่รู้สึกถึงแค่ท้องมีการเคลื่อนไหว การที่รู้สึกบริเวณนี้แล้วไม่ได้อึดอัด และสามารถกลับมารู้สึกตัวหลังจากที่หลงไปแล้วได้ง่าย กว่า วิหารธรรมแบบอื่น (แอบกระซิบหน่อยนะ.. การหาวิหารธรรมนั้น ควรคิดถึงตอนใกล้ตายด้วยว่า ว่าเรากำลังจะตาย เราสามารถใช้วิหารธรรม ที่เราฝึกได้หรือปล่าว)
วิธีการต่อไปนี้เป็นวิธีการที่ผู้เขียนทำอยู่ทุกวันนะครับ.. เวลาที่จะเจริญสติในรูปแบบ สิ่งแรกที่ควรทำคือ สวดมนต์ แล้วตั้งใจว่าเราจะฝึก ประมาณ 10-15 นาที (บางท่านอาจจะทักว่า น้อยไปหรือปล่าว.. ผู้เขียนยอมรับว่าน้อยไปแต่ ผู้เขียนได้ตกลงกับตัวเองแล้วว่า ถึงจะน้อยแต่ทำทุกวัน ไม่ว่าจะขี้เกียจ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนต้องทำทุกวัน เพื่อที่จะได้ไม่ยอมแพ้กิเลส ที่จะพยายามอ้างเหตุผล ให้เราเลิกฝึกนั่นเอง)
โดยที่ช่วงสวดมนต์ ก็เริ่มฝึกเจริญสติแล้ว เพราะใช้บทสวดมนต์ เป็นวิหารธรรม พอสวดมนต์เสร็จ ก็จะนั่งสมาธิ ที่เราคิดว่าสบายที่สุด นั่งรู้สึกถึงท้องที่เคลื่อนไหว แล้วพอสักพัก จิตจะเริ่มหลงไปคิดเรื่องงาน เรื่องในอดีต เรื่องที่เราไม่สบายใจ เรื่องต่างๆ มากมาย ซึ่งหน้าที่เราก็คอยรู้ตาม ว่าจิตหลงออกจาก ความรู้สึกที่ท้อง เมื่อแค่รู้ว่าจิตหลงออกไปแล้ว จิตก็จะมารู้สึกอยู่ที่ท้องเหมือนเดิม ทำไปเรื่อยๆ จิตจะเริ่มสงบบ้าง แต่ต้องสังเกตุเหมือนกัน ว่าจิตรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของท้องหรือปล่าว เพราะส่วนใหญ่จิตจะเคลื่อนออกมานิดหนึ่ง แล้วจะสร้างความรู้สึกว่าท้องเคลื่อนไหวอยู่ แล้วจิตจะรู้สึกสบาย แล้วเราจะเริ่มเคลิ้ม ซึ่งบางทีเราหลับไปเลยก็มี ซึ่งการรู้สึกตัวจริงนั้น จิตจะสดชื่น ไม่ซึมๆ ทำไปอย่างนี้เรื่อยๆ จนขาจะเริ่มชา และปวดขึ้นเรื่อยๆ ก็จะฝึกไปอีกสักพักหนึ่งก็จะพอ สำหรับการเจริญสติในรูปแบบสำหรับวันนั้น..
ขอต่อการเจริญสติแบบที่สองในบทความหน้านะครับ..
การเจริญสติ มีด้วยกัน 2 แบบ ซึ่่งจะต้องทำควบคู่กัน.. แบบแรกเรียกว่า "การเจริญสติในรูปแบบ" แบบที่สองเรียกว่า "การเจริญสติในชีวิตประจำวัน"
การเจริญสติในรูปแบบ.. เป็นการฝึกที่่ต้องอาศัยสถานที่พอสมควรเพื่อตัดปัจจัย ที่จะผลต่อการฝึกเจริญสติ เช่น ควรหลีกเลี่ยงพบปะผู้คน มีความเงียบพอสมควร บรรยากาศเหมาะแก่การฝึกเจริญสติ สำหรับสถานที่ของผู้เขียนเองก็ ในบ้านนั่นแหละ เช่นในห้องนอนหลังจากที่เด็กๆ หลับกับหมดแล้ว สนามหน้าบ้านตอนเช้า ที่ยังไม่มีคนพลุกพล่านมาก
จุดประสงค์ของการฝึกเจริญสติในรูปแบบเพื่อให้จิต ได้มีกำลังที่จะได้ใช้ กับการเจริญสติในรูปแบบที่สอง อีกทั้งยังเป็นฝึกซ้อมให้จิตได้รู้ถึงสภาวะ ของการรู้สึกตัวกับความคิด(หรือหลง) ได้เด่นชัดขึ้น
วิธีการฝึกเจริญสติในรูปแบบ.. สิ่่งแรกที่ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องค้นหาให้ได้คือ หา" วิหารธรรม" ที่เหมาะกับตัวเอง และเกี่ยวเนื่องกับกายกับใจ..
มาเข้าใจกับคำว่า "วิหารธรรม" กันก่อน.. วิหารธรรมคือเครื่องอยู่ ของจิต หรืออารมณ์ (สิ่งที่จิตไปรู้) ที่จะเป็น ตัวกำหนดหรือขอบเขต ที่จะบอกว่าตอนนี้จิตกำลัง "หลง" หรือยัง "ไม่หลง" ซึ่งก็เหมือนกับที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่าง ในบทความ ที่สอนสภาวะหลงให้กับเด็กๆ
วิหารธรรม.. ที่เกี่ยวเนื่องกับการกับใจเช่น รู้สึกถึงลมหายใจ รู้สึกถึงท้องพองยุบ ท่องพุทโธ ขยับแขนเป็นจังหวะ เดินจงกรม.. ในระยะแรกลอง ทำในสิ่งตัวเองชอบก่อน.. แล้วสังเกตุดูว่า สบาย ไม่อึดอัด และทำได้นานไหม ถ้าใช่นั่นแหละคือวิหารธรรมที่น่าจะเหมาะกับเราแล้ว แต่ถ้าวิหารธรรมใดทำแล้วรู้สึกว่า อึดอัด หรือรู้สึกว่าเป็นภาระที่จะต้องทำ ผู้เขียนขอแนะนำให้เปลี่ยนนะครับ แต่อย่างไรก็ตามต้องลองสังเกตุให้ดีด้วยว่า ชอบจริง สบายจริง อึดอัดจริง หรือปล่าว เพราะบางที่ก็เจอกิเลสหลอกเหมือนกัน เช่นตอนแรกดี แต่พอสักพัก เริ่มไม่ดีอีกละ ต้องจำไว้เสมอว่า กิเลสของเรานั้น จะทำอย่างไรก็ได้ ให้เราเลิกทำ..
ถ้าท่านผู้อ่านลองย้อนกลับไปอ่าน บทความเก่าๆ ของผู้เขียน จะเห็นว่าผู้เขียนเองก็ดิ้นรนที่จะหาวิหารธรรมของตัวเองให้เจอ.. ซึ่งวิหารละธรรมของผู้เขียนจะเป็น การรู้สึกถึงท้องที่เคลื่อนไหว ไม่แน่ใจว่าเรียก ท้องพองยุบหรือปล่าว เพราะไม่ได้ไปรู้สึกถึงว่า ท้องพองหรือท้องยุบ แต่รู้สึกถึงแค่ท้องมีการเคลื่อนไหว การที่รู้สึกบริเวณนี้แล้วไม่ได้อึดอัด และสามารถกลับมารู้สึกตัวหลังจากที่หลงไปแล้วได้ง่าย กว่า วิหารธรรมแบบอื่น (แอบกระซิบหน่อยนะ.. การหาวิหารธรรมนั้น ควรคิดถึงตอนใกล้ตายด้วยว่า ว่าเรากำลังจะตาย เราสามารถใช้วิหารธรรม ที่เราฝึกได้หรือปล่าว)
วิธีการต่อไปนี้เป็นวิธีการที่ผู้เขียนทำอยู่ทุกวันนะครับ.. เวลาที่จะเจริญสติในรูปแบบ สิ่งแรกที่ควรทำคือ สวดมนต์ แล้วตั้งใจว่าเราจะฝึก ประมาณ 10-15 นาที (บางท่านอาจจะทักว่า น้อยไปหรือปล่าว.. ผู้เขียนยอมรับว่าน้อยไปแต่ ผู้เขียนได้ตกลงกับตัวเองแล้วว่า ถึงจะน้อยแต่ทำทุกวัน ไม่ว่าจะขี้เกียจ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนต้องทำทุกวัน เพื่อที่จะได้ไม่ยอมแพ้กิเลส ที่จะพยายามอ้างเหตุผล ให้เราเลิกฝึกนั่นเอง)
โดยที่ช่วงสวดมนต์ ก็เริ่มฝึกเจริญสติแล้ว เพราะใช้บทสวดมนต์ เป็นวิหารธรรม พอสวดมนต์เสร็จ ก็จะนั่งสมาธิ ที่เราคิดว่าสบายที่สุด นั่งรู้สึกถึงท้องที่เคลื่อนไหว แล้วพอสักพัก จิตจะเริ่มหลงไปคิดเรื่องงาน เรื่องในอดีต เรื่องที่เราไม่สบายใจ เรื่องต่างๆ มากมาย ซึ่งหน้าที่เราก็คอยรู้ตาม ว่าจิตหลงออกจาก ความรู้สึกที่ท้อง เมื่อแค่รู้ว่าจิตหลงออกไปแล้ว จิตก็จะมารู้สึกอยู่ที่ท้องเหมือนเดิม ทำไปเรื่อยๆ จิตจะเริ่มสงบบ้าง แต่ต้องสังเกตุเหมือนกัน ว่าจิตรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของท้องหรือปล่าว เพราะส่วนใหญ่จิตจะเคลื่อนออกมานิดหนึ่ง แล้วจะสร้างความรู้สึกว่าท้องเคลื่อนไหวอยู่ แล้วจิตจะรู้สึกสบาย แล้วเราจะเริ่มเคลิ้ม ซึ่งบางทีเราหลับไปเลยก็มี ซึ่งการรู้สึกตัวจริงนั้น จิตจะสดชื่น ไม่ซึมๆ ทำไปอย่างนี้เรื่อยๆ จนขาจะเริ่มชา และปวดขึ้นเรื่อยๆ ก็จะฝึกไปอีกสักพักหนึ่งก็จะพอ สำหรับการเจริญสติในรูปแบบสำหรับวันนั้น..
ขอต่อการเจริญสติแบบที่สองในบทความหน้านะครับ..
สอนสภาวะ หลง กับลูกๆ
จากบทความเกี่ยวกับ การเจริญสติและรู้สึกตัว.. เพียงเรารู้ว่าหลงก็ รู้สึกตัวเป็นแล้ว และฝึกรู้ว่าหลงไปเรื่อยๆ ก็คือการเจรอญสตินั่นเอง.. ท่านผู้ที่เริ่มฝึกแล้วจะเห็นว่า ไม่ยากเลย.. ดังนั้นในบทความนี้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างของการสอน ลูกๆของผู้เขียนเองให้รู้จัก สภาวะหลง ลูกของผู้เขียนตอนเริ่มฝึก มีอายุ 6 ขวบกับ 9 ขวบ..
เด็กอายุขนาดนี้ไม่ต้องบอกก็รู้นะครับว่า.. ให้อธิบายคำว่า "หลง" แบบบทความที่กล่าวมาแล้ว คงทำไม่ได้ ดังนั้นผู้เขียนจึงใช้วิธี "ทัก" ไปที่ตัวเด็กตรงๆ ว่าแบบนี้เรียกหลงนะ ทำบ่อยๆ เข้าก็ ไม่ต้องพูด แค่แตะตัวก็รู้ละ บางครับแค่ยิ้มก็เริ่มละ ว่าตัวเองหลงแล้ว..
กิจกรรมแรก.. ที่่แนะนำครับ ใช้เวลาก่อนนอน ในช่วงที่ปิดไฟแล้ว แต่ยังไม่หลับกัน ชวนเด็กๆ ที่กำลังนอน แต่ยังไม่หลับ มาเล่นเกมส์ โดยมีกติกาว่า ใครพูดถึงเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับ ห้องนอน ถือว่า "หลง" เพราะปกติเด็กๆ เวลาจะนอนจะพูดเรื่องโน้นเรื่องนี้อยู่เป็นประจำอยู่แล้ว ส่วนมากเด็กจะชอบพูดถึงเรื่องเกมส์ เรื่องเพื่อน เรื่องโรงเรียน
พอเราตั้งกฏนี้ขึ้นมา เด็กจะเงียบ แต่สักพัก เขาจะเริ่มพูดเรื่องที่เขาคิดขึ้นมาซึ่งแน่นอน ไม่ใช่เรื่องในห้องนอนอยู่แล้ว เราลองทักแค่สักครั้ง สองครั้ง เด็กอาจจะงงอยู่บ้าง เราต้องอธิบายว่า พูดเรื่ิองอะไรที่เรียกว่าไม่หลง เช่น ห้องนี้หนาวจัง หมอนนี้นุ่มจัง ห่มผ้าห่มแล้วร้อน สักพักก็ลองเริ่มกันใหม่ เด็กจะเงียบนานขึ้น สักพักเด็กจะขอต่อรองที่จะขอหลงโดย ขอเล่าเรื่องนอกห้องนอน เราก็ไม่ว่าอะไร แต่ก็จะสอนว่า ไม่ได้ห้ามไม่ให้หลง.. ขอแค่ให้รู้ว่าหลงก็พอ แต่เมื่อไหร่ ที่เขาเล่าเรื่องใหม่ที่เกี่ยวกับเรื่องนอกห้อง เราจะต้องรีบทักทันทีว่า หลงไปแล้วนะ เพราะไม่ได้ขออนุญาติหลงก่อน ทำแค่วันละ 2-3 ครั้งก็พอแล้ว เพราะไม่อย่างนั้นเด็กอาจจะเครียดได้ จนไม่ยอมนอนได้เลย
พอเราตั้งกฏนี้ขึ้นมา เด็กจะเงียบ แต่สักพัก เขาจะเริ่มพูดเรื่องที่เขาคิดขึ้นมาซึ่งแน่นอน ไม่ใช่เรื่องในห้องนอนอยู่แล้ว เราลองทักแค่สักครั้ง สองครั้ง เด็กอาจจะงงอยู่บ้าง เราต้องอธิบายว่า พูดเรื่ิองอะไรที่เรียกว่าไม่หลง เช่น ห้องนี้หนาวจัง หมอนนี้นุ่มจัง ห่มผ้าห่มแล้วร้อน สักพักก็ลองเริ่มกันใหม่ เด็กจะเงียบนานขึ้น สักพักเด็กจะขอต่อรองที่จะขอหลงโดย ขอเล่าเรื่องนอกห้องนอน เราก็ไม่ว่าอะไร แต่ก็จะสอนว่า ไม่ได้ห้ามไม่ให้หลง.. ขอแค่ให้รู้ว่าหลงก็พอ แต่เมื่อไหร่ ที่เขาเล่าเรื่องใหม่ที่เกี่ยวกับเรื่องนอกห้อง เราจะต้องรีบทักทันทีว่า หลงไปแล้วนะ เพราะไม่ได้ขออนุญาติหลงก่อน ทำแค่วันละ 2-3 ครั้งก็พอแล้ว เพราะไม่อย่างนั้นเด็กอาจจะเครียดได้ จนไม่ยอมนอนได้เลย
กิจกรรมต่อไป "ทานข้าว".. กิจกรรมนี้ไม่ว่าเด็กผู้ใหญ่ ทำได้หมด ทำกติกาเหมือนแบบในห้องนอน กำหนดขอบเขตว่าเรากำลังทานข้าวกัน ดังนั้น เรื่องราวที่พูด ท่าทาง ต้องอยู่ในกิจกรรมของการทานข้าวเท่านั้น เหมือนเดิมเด็กจะชอบเล่าเรื่ิองโน้นเรื่องนี้เหมือนเดิม เราก็มีหน้าที่คอยทัก แรกๆ เด็กจะ งง แต่สักพักเด็กจะเข้าใจ ซึ่งบางที เราต้องคอยสังเกตุ ท่าทางหรือพฤติกรรมเขาด้วยว่า กำลังเหม่อ มือจับของเล่น อยู่หรือปล่าว แล้วคอยทักเขา เป็นระยะ แต่ไม่ต้องบ่อยมาก ต้องคอยดูอารมณ์ ของเด็กด้วยว่า เขาเริ่มหงุดหงิดต้องรีบเลิก และต้องชวนคุยว่า การที่เราหลงบ่อยนะดี ส่วนการหลงนานนะไม่ดี โดยไม่ต้องอธิบายให้มากมาย ให้คอยชมทุกครั้งที่เราทักแล้วเขายอมรับโดยไม่มีอารมณ์หงุดหงิด
ขออีกกิจกรรมนะครับ.. ตอนอยู่ในรถส่วนมาก จะเล่นเฉพาะตอนติดไฟแดง ขอบเขตคือเรื่องที่เกี่ยวกับในรถ ซึ่งคราวนี้เด็กจะหลงได้หลายรูปแบบมาก เพราะมีสิ่งที่เกิดขึ้นนอกรถมากมาย แล้วเด็กสามารถ เห็น ได้ยิน ตลอดเวลา ดังนั้นเราอาจไม่ต้องทักตลอด แค่ทักเป็นบางครั้งก็พอ
เมื่อเราฝึกเขาสักพักหนึ่ง ซึ่งลูกของผู้เขียนเอง นานๆครั้ง ที่เด็ก จะพูดขึ้นมาเองโดยที่เราไม่ได้ตั้งกติกาว่า หลงอีกแล้ว.. ผู้เขียนไม่ได้คาดหวังอะไรมากเพราะ เพียงเพื่อให้ลูกรู้จัก สภาวะหลงก้บไม่หลง ต่างกันอย่างไร.. แค่นี้ก็ เรียกว่าพาลูกปฎิบัติธรรมแล้ว
หวังว่าท่านผู้อ่านคงมีกำลังใจขึ้นมาบ้างนะครับ สำหรับการปฎิบัติธรรมนั้น ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย ขอให้ทำตั้งแต่วันนี้ เพราะเราไม่รู้ว่าหนทางที่เราเดินนี้ยังอยู่อีกไกลแค่ไหน..
ขอให้กำลังใจทุกท่านครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)